โรงเรียนบ้านหนองปรือ

หมู่ 2 ต.เบิกไพร อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

032 228386

โรงเรียนบ้านหนองปรือ

โรงเรียนบ้านหนองปรือ

นาง สุมิตรา มหาทรัพย์

รักษาการแทน ผู้อำนวยการ

 

Previous
Next

ประวัติ  โรงเรียนบ้านหนองปรือ

โรงเรียนบ้านหนองปรือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2506

ความเป็นมาของโรงเรียน ผู้ริเริ่มในการก่อตั้ง คือ นายหรุ่น นางแฉล้ม เจริญพร และนายแย้ม อุ่นภักดิ์ ได้เป็นผู้นำชักชวนราษฎรในหมู่บ้าน ช่วยกันหาเสา และไม้ท่อนมาเลื่อยและรวบรวมไว้ จนเพียงพอในการก่อสร้าง ครั้นถึงเวลาในการก่อสร้างได้อาราธนานิมนต์พระครูวาปีวรคุณ (หลวงพ่อคูณ ) เจ้าคณะอำเภอจอมบึงในขณะนั้น มาเป็นองค์ประธานในการก่อสร้าง โดยชาวบ้านได้ช่วยกันสละทรัพย์เพื่อซื้อสังกะสีมามุงหลังคา

สำหรับที่ดินของโรงเรียนได้รับบริจาคจากนายหรุ่น นางแฉล้ม เจริญพร เป็นเนื้อที่จำนวน 5 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา โดยมีอาณาเขต ทิศเหนือติดเขต วัดหนองปรือใหญ่พลายงาม ทิศใต้ ติดถนนหลวง ทิศตะวันออกติดวัดหนองปรือใหญ่พลายงาม ทิศตะวันตกติดทางสาธารณะ

ครูใหญ่คนแรกคือ นายนรา แสงอ่อน

พ.ศ. 2507 นายบุญมา เกิดทรัพย์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้ร่วมกันกับทางวัดหนองปรือและประชาชน จัดทอดผ้าป่าสามัคคี โดยนำรายได้ไปซื้อสังกะสีมุงหลังคาที่ค้างอยู่และทำการกั้นฝาห้องโดยใช้ฝาไม้ไผ่ชั่วคราว

พ.ศ. 2514 นายถาวร อาศน์สุวรรณ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้ของบประมาณเพื่อซ่อมแซมและจัดทำฝาอาคารเรียนให้ถาวรมากขึ้น ติดประตู หน้าต่าง และเทพื้นปูน จนเสร็จเรียบร้อย

พ.ศ. 2516 นายเชาว์ สุขหงษ์ ครูใหญ่ เห็นว่าอาคารเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ต้องไปอาศัยเรียนที่ศาลาวัด จึงทำรายงานของบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียนใหม่ และได้งบประมาณพิเศษจากกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2518 เป็นอาคารแบบ ป1ก 5 ห้องเรียน สร้างบ้านพักครู 1 หลัง พร้อมทั้งห้องส้วมสำหรับนักเรียน 2 หลัง

พ.ศ. 2520 นายวิเชียร อร่ามเวชวรนันท์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้รับงบประมาณ สร้างบ้านพักครูอีก 1 หลัง

พ.ศ. 2522 นายวิลัด ลิมทโรภาส รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้ของบประมาณจากชุมชน จำนวน 20,000 บาท สร้างอาคารชั่วคราว เป็นอาคารไม้ไผ่มุงหญ้าคา

พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณจาก สปช. จำนวน 130,000 บาท สร้างบ้านพักครู 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง สำหรับใช้เป็นห้องประชุมและโรงอาหาร

15 มิถุนายน 2524 นายพิพัฒน์ พันธุ์โชติ รักษาการฯครูใหญ่ และได้รับการแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ 1 ตุลาคม 2524

พ.ศ. 2525 จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นจึงได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนอีก 1 หลัง เป็นอาคาร แบบ สปช. 017 มี 2 ชั้น 4 ห้องเรียน ชั้นล่างโล่ง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ 2 กรกฎาคม 2525

พ.ศ. 2528 จัดทำป้ายชื่อโรงเรียนโดยก่ออิฐมอญ ทาสี มีพื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับด้านหน้า สนับสนุนโดยคุณสายหยุด สงสุวรรณ เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท

พ.ศ. 2529 นายพิพัฒน์ พันธุ์โชติ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ( 1 ก.พ. 2529)

พ.ศ. 2530 กรมทรัพยากรธรณี ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบทิ้งจมให้กับโรงเรียน

พ.ศ. 2531 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคาร สปช.017 ชั้นล่าง 4 ห้องเรียน

พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2544 ได้รับงบประมาณ 90,000 บาท สร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์

พ.ศ. 2546 อาจารย์ใหญ่ พระครูรัตนกิตติวัฒน์ และกรรมการสถานศึกษาฯร่วมกันสร้างห้องเรียนธรรมชาติ

1 เมษายน 2547 นายพิพัฒน์ พันธุ์โชติ อาจารย์ใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา ลาออกจากราชการ นายมานะ โทสูงเนิน อาจารย์ 2 ระดับ 7 รักษาการฯ

9 พฤศจิกายน 2547 นางนิตยา ทองประเสริฐ มาเป็นผู้บริหารสถานศึกษาในตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสวนผึ้ง รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองปรือ และดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2547 และให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547

21 มกราคม 2548 ได้รับจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์ จากสพท.รบ. 1 จำนวน 2 เครื่อง

10 – 12 กุมภาพันธ์ 2548 ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี

18-19 มิถุนายน 2548 ดำเนินการรื้อถอนบ้านพักครูหลังที่ 1 ,2 และส้วม 1 หลัง โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชน หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 8 ช่วยดำเนินการ

8 กรกฎาคม 2548 สร้างที่จอดรถ โดยใช้ไม้จากการรื้อถอนบ้านพักครูและส้วม

18 กรกฎาคม 2548 สร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้าโรงเรียน โดยได้รับการสนับสนุนจากการจัดกิจกรรมผ้าป่าการศึกษา

29 กันยายน 2548 สร้างศาลาแปดเหลี่ยมเพื่อเป็นศาลาแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน และสร้างรั้วลวดหนามตลอดแนวด้านข้างโรงเรียน โดยใช้ไม้จากการรื้อถอนบ้านพักครูและงบประมาณจากการบริจาค

19 – 20 ธันวาคม 2548 ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย และบุคคลในชุมชน ช่วยส้รางและปรับปรุงอาคารส่งเสริมวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

12 – 14 ธันวาคม 2552 ได้รับการประเมิน สมศ.รอบที่ 2 ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

12 ตุลาคม 2553 นางนิตยา ทองประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองปรือเสียชีวิต นางอำไพ พันธุ์โชติ ครู อันดับ คศ. 3 รักษาการฯ

13 มิถุนายน 2554 นางกาญจนา จันทร์นาค มาเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านหนองปรือ มีนักเรียนจำนวน 94 คน ครู 5 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน นักการ 1 คน จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนในโครงการวิถีพุทธ บริหารจัดการศึกษาโดยใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management )

วิสัยทัศน์ / ปรัชญา

“โรงเรียนบ้านหนองปรือ เป็นโรงเรียนที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพให้มีความรู้ความสามารถสู่มาตรฐานการศึกษา ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย และมีทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ / เป้าประสงค์

พันธกิจ
1) จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสู่มาตรฐาน และใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้
2) สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
3) พัฒนาครูและบุคลากรสนับสนุนทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4) พัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
5) พัฒนาระบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรต่างๆ
6) พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
7) เสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
8) ส่งเสริมการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย

1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถมุ่งสู่มาตรฐานสากลมีลักษณะเป็นพลโลก โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) ประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
3) พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สอนตรงวิชาเอกและความถนัด
4) นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5) นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอย่างทั่วถึง ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
6) โรงเรียนบริหารงานในรูปแบบของการกระจายอำนาจ โดยชุมชนมีส่วนร่วมภายใต้ระบบข้อมูล สารสนเทศ
7) นักเรียนมีทักษะการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
8) นักเรียน ครู ชุมชนอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม