โรงเรียนบ้านหนองปรือ

หมู่ 2 ต.เบิกไพร อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

032 228386

ดนตรีร็อค 

ดนตรีร็อค

ดนตรีร็อค ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1950 จากจุดเริ่มต้นของร็อคแอนด์โรลล์ ดนตรีร็อคได้พัฒนาต่อเนื่องมาเป็นป๊อบร็อค ลาตินร็อค การาจร็อค บลูร็อค โฟล์คร็อคและไซคีเดลิคร็อค เมื่อถึงปลาย ทศวรรษ 1960 จึงมีการเกิดขึ้นของดนตรีโปรเกรสซีพร็อคและแจ๊สร็อคตามมา

โปรเกรสซีฟร็อก (Progressive Rock)

บางครั้งโปรเกรสซีฟร็อค (Progressive Rock) ก็ถูกเรียกว่าอาร์ทร็อค (Art Rock) ซึ่งไปไกลกว่าการใช้สูตรสำเร็จด้านดนตรีที่ถูกกำหนดมาแต่เดิม โดยการทดลองกับเครื่องดนตรีที่แตกต่างไป, ประเภทของเพลงและรูปแบบใหม่ๆ ของแนวความคิด                   

การรวมเอาเครื่องดนตรีฮาร์ปซิคอร์ด, เครื่องลมและเครื่องสายมาใช้ในการบันทึกเสียงเพื่อสร้างรูปแบบของบาร็อกร็อค (Baroque Rock) เช่นเพลง “A Whiter Shade of Pale” ของ Pocol Harum ในปี 1967 พร้อมกับดนตรีที่ได้รับแรงบันดาลใจจากดนตรีของคีตกวีบาช (Bach) วงดนตรี The Moody Blues ใช้วงออเคสตราเต็มรูปแบบในอัลบั้ม “Days of Future Passed” ปี 1967 และได้สร้างเสียงดนตรีออเคสตราด้วยเครื่องซินธิไซเซอร์มาประกอบ 

รูปแบบดนตรีโปรเกรสซีพร็อคที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จึงใช้คีย์บอร์ดและซินธิไซเซอร์เป็นส่วนเสริมให้เสียงกีต้าร์เบสและกลองที่เป็นเครื่อวดนตรีปกติของร็อค

แม้แต่ด้วยเครื่องดนตรีแบบธรรมดาแต่การแต่งเพลงที่มีเนื้อร้องที่มีแนวคิดทางนามธรรมหรืออิงกับเรื่องราวในนิยายแฟนตาซีและวิทยาศาสตร์ เช่น เพลง “S.F. Sorrow is Born” ของ The Pretty Things ปี 1968 และเพลง “Arthur หรือ “The Decline and Fall of the British Empire” ปี 1969 ของ The Kinks นำเสนอรูปแบบของร็อคโอเปราและเปิดประตูสู่คอนเซ็ปต์อัลบั้มที่มักจะเล่าเรื่องราวมหากาพย์หรือธีมที่ยิ่งใหญ่ 

อัลบั้มของ King Crimson ในปี 1969 “In the Court of the Crimson King” ซึ่งผสมริฟฟ์ของกีตาร์อันทรงพลังและเมลโลตรอนเข้ากับดนตรีแจ๊สและดนตรีซิมโฟนิค มักถูกนำมาใช้ในการบันทึกเสียงหลักในดนตรีแนวโปรเกรสซีฟร็อค 

ช่วงต้นทศวรรษ 1970 ท่ามกลางวงดนตรีบลูส์ร็อคและไซคีเดลิกที่มีอยู่ก่อนหน้า               ดนตรีโปรเกรสซีพร็อคนำรูปแบบการแสดงแบบใหม่จากซอฟต์แมชชีนของไซคีเดเลียผ่านอิทธิพลของดนตรีแจ๊สไปสู่ฮาร์ดร็อคที่เริ่มขยายตัวมากขึ้น

วงดนตรี Pink Floyd ประสบความสำเร็จทางการค้ามากขึ้นเนื่องจากพวกเขาเปลี่ยนแนวดนตรีจากไซคีเดเลีย (Psychedelia) ภายหลังจากการจากไปของซิด บาร์เรตต์ (Syd Barrett) ในปี 1968 ด้วย อัลบั้ม “The Dark Side of the Moon” ในปี 1973 ซึ่งถูกมองว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของดนตรีโปรเกรสซีพร็อคและกลายเป็นหนึ่งในผลงานที่ขายดีที่สุดตลอดกาล

ความสามารถในการเล่นดนตรีโดยวงดนตรี Yes ที่แสดงทักษะอันยอดเยี่ยมของมือกีตาร์  สตีฟ ฮาว (Steve Howe) และมือคีย์บอร์ดริค เวคแมน (Rick Wakeman) 

ในขณะที่ Emerson, Lake & Palmer เป็นกลุ่มซูเปอร์กรุ๊ปที่ผลิตงานประเภทที่มีความต้องการทางด้านเทคนิคมากที่สุดในดนตรีประเภทนี้

  Jethro Tull และ Genesis ต่างก็สร้างดนตรีโปรเกรสซีพร็อคในแบบอังกฤษออกมา ซึ่งมีความแตกต่างออกไป

Renaissance ก่อตั้งขึ้นในปี 1969 โดยอดีตสมาชิกวงยาร์ดเบิร์ด (Yardbirds)             จิม แมคคาร์ตี (Jim McCarty) และคีธ เรลฟ์ (Keith Relf) พัฒนามาเป็นวงดนตรีแนวคอนเซ็ประดับสูงที่มีเสียงร้องนำสามระดับของแอนนี่ ฮาสแลม (Annie Haslam)

วงดนตรีของอังกฤษส่วนใหญ่อยู่กับแวดวงที่ค่อนข้างเล็ก แต่มีเพียงไม่กี่วงซึ่งรวมถึง Pink Floyd, Genesis และ Jethro Tull ที่สามารถสร้างซิงเกิ้ลที่ติดทอปเทนที่บ้านเกิดและมีความสำเร็จในตลาดอเมริกาได้ 

ส่วนวงดนตรีโปรเกรสซีฟร็อคสัญชาติอเมริกันมีหลากหลายตั้งแต่ Frank Zappa, Captain Beefheart และ Blood, Sweat & Tears ไปจนถึงวงดนตรีแนวป๊อปร็อควงอื่นๆ เช่น Boston, Foreigner, Kansas, Journey และ Styx ยกเว้นวงดนตรีอังกฤษอย่าง Supertramp และ ELO ต่างได้รับอิทธิพลของดนตรีโปรเกรสซีฟร็อคและพวกเขามีการแสดงและผลงานที่ประสบความสำเร็จทางการค้ามากที่สุดในทศวรรษ 1970 

ดนตรีโปรเกรสซีฟร็อคส่งผลให้อัลบั้มอย่าง Tubular Bells ของ Mike Oldfield ในปี 1973 ซึ่งทำสถิติความนิยมทั่วโลกครั้งแรกของ Virgin Records ซึ่งกลายเป็นแกนนำของดนตรีประเภทนี้ ดนตรีโปรเกรสซีฟร็อคมีความสำคัญอย่างยิ่งในทวีปยุโรปทำให้วงดนตรีของยุโรปอย่าง Kraftwerk, Tangerine Dream, Can และ Faust สามารถเอาชนะอุปสรรคทางภาษาได้  

ดนตรี “Kraut Rock” ที่มาพร้อมกับซินธิไซเซอร์ที่หนักหน่วงผลงานของ Brian Eno อดีตมือคีย์บอร์ดของ Roxy Music มีอิทธิพลสำคัญต่ออิเล็กทรอนิกส์ร็อคในเวลาต่อมา 

การกำเนิดของพังก์ร็อค (Punk Rock) และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ทำให้โปรเกรสซีฟร็อคถูกมองว่าเป็นพวกอวดรู้และอวดดี วงดนตรีหลายวงเลิกรากันไป แต่วงดนตรีอย่าง Genesis, ELP, Yes และ Pink Floyd ยังทำผลงานติดอันดับท็อปเท็นเป็นประจำพร้อมกับมีทัวร์คอนเสิร์ตทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จ

วงดนตรีบางวงที่เกิดขึ้นหลังจากพังก์เช่น Siouxsie and the Banshees, Ultravox และ Simple Minds แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของดนตรีแนวโปรเกรสซีฟร็อกเช่นเดียวกับอิทธิพลของพังก์ที่เป็นที่นิยมมากกว่า

แจ๊สร็อค (Jazz Rock)

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 แจ๊สร็อคได้กลายเป็นแนวเพลงย่อยที่แตกต่างจาก        บลูส์ร็อค, ไซคีเดลิกและโปรเกรสซีฟร็อค โดยผสมผสานพลังของร็อคเข้ากับความซับซ้อนทางดนตรีและองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส All Music ให้คำจำกัดความคำว่าแจ๊สร็อคว่า “อาจหมายถึงวงดนตรีฟิวชั่นที่ดังที่สุดและดุดันที่สุดจากแจ๊ส แต่มีรูปแบบการแสดงที่มาจากฝั่งร็อค” แจ๊สร็อค “โดยทั่วไปเติบโตมาจากส่วนย่อยของร็อคที่มีความทะเยอทะยานที่สุดในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 และต้นยุค 70 รวมถึงการเคลื่อนไหวของนักร้องนักแต่งเพลงด้วย”

นักดนตรีร็อคแอนด์โรลในยุคแรก ๆ ของสหรัฐอเมริกาหลายคนเริ่มเล่นดนตรีแจ๊สและนำองค์ประกอบเหล่านี้ไปใช้ในดนตรีของตน ในสหราชอาณาจักรเพลงบลูส์ร็อคจากศิลปินชั้นนำหลายคนเช่น Ginger Baker และ Jack Bruce จากวง Cream ที่มี Eric Clapton ร่วมอยู่ด้วย มีจุดเริ่มต้นมาจากวงการดนตรีแจ๊สของอังกฤษ 

วงดนตรีกลุ่มแรกๆที่บอกว่าตนคือแจ๊สร็อคคือ วงดนตรีร็อคผิวขาวแนว R&B ที่ใช้เครื่องเป่าที่มีชีวิตชีวาเช่น Electric Flag, Blood, Sweat & Tears และ Chicago ซึ่งประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์มากที่สุดในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 

ดนตรีจากอังกฤษที่ปรากฏตัวในช่วงเวลาเดียวกันจากพื้นฐานของบลูส์เพื่อใช้ประโยชน์จากวรรณยุกต์และแนวด้นสดของดนตรีแจ๊ส อย่างเช่นวง Nucleus และเกรแฮม บอนด์ (Graham Bonds) และจอห์น เมย์ออล (John Mayall) จากวง Colosseam 

บางทีฟิวชั่นที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดมาจากด้านแจ๊สของสมการแจ๊สร็อคโดย Miles Davis ได้รับอิทธิพลจากผลงานของ Hendrix โดยเฉพาะการผสมผสานเครื่องดนตรีร็อคเข้ากับเสียงของเขาสำหรับอัลบั้ม “Bitches Brew” ปี 1970 

ศิลปินแจ๊สที่ได้รับอิทธิพลจากร็อคคนต่อๆมาได้แก่ Herbie Hancock, Chick Corea และ Weather Report ดนตรีแจ๊สร็อคเริ่มจางหายไปในช่วงปลายทศวรรษ 1970 เนื่องจากรูปแบบการหลอมรวมของดนตรีในแบบของ Steely Dan, Frank Zappa และ Joni Mitchell ได้ส่งอิทธิพลต่อดนตรีแจ๊สในช่วงเวลานี้และมีอิทธิพลสำคัญต่อดนตรีร็อคเช่นกัน

 

อ่านเพิ่มเติม ไอเดียสร้างสีสันเพื่อการเก็บเงินให้สนุก